Free Lines Arrow

วันอังคารที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2559

 บันทึกการเรียนครั้งที่ 4
วันที่ 30 สิงหาคม 2559

ความรู้ที่ได้รับ

คัดลายมืออักษรหัวกลมตัวเหลี่ยม






กิจกรรมต่อมา

กิจกรรมต่อมาอาจารย์ได้แจกอุปกรณ์ให้สองชิ้นคือกระดาษเอสี่หนึ่งแผ่นและคลิปหนึ่งอัน
ให้สร้างสื่อในการเรียนการสอนในเรื่องอากาศโดยต้องคำนึงถึงหลักวิทยาศาสตร์ด้วย

กลุ่มของดิฉันนำเสนอสื่อการสอนคือพัดเป็นเรื่องของลม
เพื่อนกลุ่มอื่นนำเสนอ เช่น เรื่องการเกิดฝน พลังงานลม วงจรฤดูกาล แรงต้านอากาศ เป็นต้น

จากนั้นอาจารย์ได้นำเสนอว่าสื่อการสอนที่ดิฉันนำเสนอคือพัดนั้นเกี่ยวกับเรื่องลมเป็นเรื่องของการมีตัวตนของอากาศ อาจารย์ได้ยกตัวอย่างโดยการใช้ถุงพลาสติกครอบอากาศและปิดปากถุงจะเห็นได้ว่ามีอากาศอยู่ในถุงแสดงว่าอากาศนั้นมีตัวตน


ประดิษฐ์ของเล่นวิทยาศาสตร์ที่เด็กปฐมวัยสามารถประดิษฐ์ได้เอง 
ชื่อของเล่น   ทะเลน้อยคอยเด็กเด็ก


อุปกรณ์
1. น้ำมันพืช
2. ขวดพลาสติกเหลือใช้และน้ำเปล่า
3.สีผสมอาหาร
4. สัตว์ทะเลจำลอง


ขั้นตอนการทำ

อันดับแรกนำน้ำเปล่าเทใส่ขวดพลาสติกเหลือใช้




ต่อมาเทสีผสมอาหารตามลงไป


จากนั้นก็เติมน้ำมันพืชลงไปจะเห็นได้ว่าน้ำและน้ำมันพืชแยกชั้นกันอย่างชัดเจน







สุดท้ายตกแต่งขวดและใส่สัตว์ทะเลจำลองได้ตามชอบใจ


วิธีการเล่น
      
          ให้เด็กได้ดูการจำลองทะเลในขวดและสังเกตการแยกชั้นของน้ำและน้ำมัน
สามารถกลับขวดให้เหมือนกับนาฬิการทรายจะทำให้มีความเพลิดเพลินในการเล่นมากขึ้น



หลักการทางวิทยาศาสตร์
ความหนาแน่น คือ การวัดมวลต่อหนึ่งหน่วยปริมาตร ยิ่งวัตถุมีความหนาแน่นมากขึ้น มวลต่อหน่วยปริมาตรก็ยิ่งมากขึ้น กล่าวอีกนัยหนึ่ง คือวัตถุที่มีความหนาแน่นสูง (เช่น เหล็ก) จะมีปริมาตรน้อยกว่าวัตถุความหนาแน่นต่ำ (เช่น น้ำ) ที่มีมวลเท่ากัน 

จากความหนาแน่ข้างต้น ที่น้ำมันแยกชั้นกับน้ำนั้นเพราะน้ำมันมีความหนาแน่นน้อยกว่าน้ำทำให้มันเบากว่าและลอยตัวขึ้นมาเหนือน้ำ การที่ของเหลว 2 ชนิด จะสามารถผสมกลมกลืนเข้าหากันเป็นสารผสมได้นั้นของเหลว 2 ชนิดนั้นต้องมีคุณสมบัติเหมือนๆ


คำศัพท์

ลม                               wind

แรงต้านอากาศ           Air resistance

แรงดันอากาศ             Air Pressure

ความหนาแน่น            Density

น้ำมัน                          oil


การประยุกต์และนำไปใช้

ทำให้ได้รู้ว่าการสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยนั้นควรที่จะสอนเรื่องที่อยู่ใกล้ตัวเด็กและควรสอนในสิ่งที่เด็กเรียนรู้ได้ง่ายไม่ซับซ้อน และการสอนนั้นไม่ใช่เพียงแต่ว่าจะสอนโดยไม่มีหลักการจะต้องมีหลักการอ้างอิงเสมอครูปฐมวัยจะต้องหาความรู้อย่างต่อเนื่องในหัวข้อที่สอน

ประเมินอาจารย์
อาจารย์แต่งกายเรียบร้อยและให้ความรู้อย่างชัดเจนการสอนของอาจารย์นั้นมีความละเอียดอยู่เสมอ

ประเมินตนเอง
ตั้งใจฟังอาจารย์และคิดตามอย่างต่อเนื่อง

ประเมินเพื่อน
เพื่อนๆมีความตั้งใจและร่วมทำกิจกรรมระดมสมองกันอย่างสนุกสนาน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น