Free Lines Arrow

วันอังคารที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2559




บันทึกการเรียนครั้งที่ 16
วันที่ 22 พฤศจิกายน 2559


กลุ่มของดิฉันสอน หน่วยไก่ เรื่องสายพันธ์ วันจันทร์

วัตถุประสงค์

1.เพื่อให้เด็กจำแนกสายพันธ์ของไก่ได้
2.เพื่อให้เด็กสังเกตความเหมือนและความต่างของไก่แต่ละสายพันธ์


สาระที่ควรเรียนรู้

ไก่มีหลายสายพันธ์เช่น ไก่ชน ไก่ฟ้า ไก่แจ้ ไก่ป่า ไก่บ้าน 

ประสบการณ์สำคัญ

1.สังเกตความแตกต่างของไก่
2.จำแนกไก่แต่ละสายพันธ์ได้


กิจกรรมการเรียนรู้

ขั้นนำ
1. ครูพาเด็กๆอ่านคำคล้องจองไก่
2.ครูถามเด็กๆว่าในคำคล้องจองมีไก่สายพันธ์ใดบ้าง
3.ครูถามเด็กว่านอกจากนี้ยังมีไก้สายพันธ์ใดที่เด็กๆรู้จักอีกบ้าง
ขั้นสอน
4.นำเล้าไก่ออกมาแล้วถามเด็กว่าในเล้ามีอะไรอยู่
5.หยิบไก่ออกมาจากเล้าแล้วถามเด็กๆว่า ''เด็กๆรู้ไหมว่านี่คือไก่สายพันธ์ใด''
6.เมื่อนำไก่ออกมาจากเล้าหมดแล้วให้เด็กๆช่วยนับไก่และหยิบตัวเลขมากำกับ
7.ให้เด็กแยกไก่ชนออกมาจากกองไก่แจ้และไก่ฟ้า
8.ครูถามเด็กๆว่าไก้สายพันธ์ไหนมากที่สุด และเด็กๆรู้ได้ไงว่ามากที่สุด
9.ครูพาเด็กๆพิสูจน์ด้วยวิธีการนับออก 1ต่อ1 โดยให้เด็กๆออกมาหยิบไก่โดยเหลือไก่สายพันธ์หนึ่งที่เหลืออยู่

ขั้นสรุป
10.ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปว่าไก่ที่เหลือสายพันธืสุดท้ายคือไก่ที่มากที่สุด
11.ครูถามเด็กๆว่าวันนี้เด็กรู้จักไก่สายพันธืใดบ้าง

สื่อ 

1. ชาร์ตคำคล้องจองไก่
2. เล้าไก่
3.รูปภาพไก่ชน
4.รูปภาพไก่แจ้
5.รูปภาพไก่ฟ้า
6.ตัวเลข


การวัดและประเมินผล

สังเกตการสนทนาและตอบคำถาม


การบูรณาการ

1. ภาษา
2. คณิตศาสตร์
3. วิทยาศาสตร์


ตัวอย่างการสอนหน่วยนม เรื่องลักษณะ วันอังคาร

หน่วยข้าว เรื่องการถนอมอาหาร ทำน้ำหมักชีวภาพ



หน่วยนำ ทำcooking วันศุกร์ 






และการสอนกิจกรรมส่งเสริมประสบการณ์บูรณาการผ่านวิทยาศาสตร์และ stem หน่วมส้ม


การประยุกต์และการนำไปใช้Knowledge application
นำวิธีการสอนและข้อแนะนำที่อาจารย์ให้ไปปรับใช้เช่นอาจจะตกหล่นในเรื่องของการใช้คำพูดหรือภาษาก็อาจจะทำให้วิธีการสอนผิดไปหรือเด็กแาจจะไม่เข้าใจได้ขั้นตอนทุกขั้นตอนควรให้เด็กมีส่วนร่วมและใช้คำถามในการกระตุ้นความคิด

ประเมินอาจารย์ Teacher
คอาจารย์ให้คำแนะนำดีมาก

ประเมินตนเอง my self
ตั้งใจฟังคำแนะนำและข้อปรับปรุงร่วมกิจกรรมอย่างดี

ประเมินเพื่อน my friend
กิจกรรมที่เพื่อนกลุ่มอื่นๆนำมาจัดสนุกสนานดี

วันจันทร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 15
วันที่ 15 พฤศจิกายน 2559


การขียนแผนการเรียนการสอน หน่วย ไก่
    วันจันทร์          สอนเรื่อง  สายพันธุ๋
    วันอังคาร         สอนเรื่อง  ส่วนประกอบ
    วันพุธ              สอนเรื่อง  การดำรงชีวิต
    วันพฤหัสบดี     สอนเรื่อง  ประโยชน์-โทษ
    วันศุกร์             สอนเรื่อง  cooking การทำแซนวิชไก่

แผนการสอนหน่วยไก่
ที่ได้นำเสนอคือ วันจันร์ เรื่องสายพันธุ์
กลุ่มของดิฉันได้รับมอบหมายได้ทำวันจันทร์ สอนเรื่องสายพันธ์ไก่


วัตถุประสงค์

1.เพื่อให้เด็กจำแนกสายพันธ์ของไก่ได้
2.เพื่อให้เด็กสังเกตความเหมือนและความต่างของไก่แต่ละสายพันธ์


สาระที่ควรเรียนรู้

ไก่มีหลายสายพันธ์มีไก่ชน ไก่ฟ้า ไก่แจ้ ไก่ป่า ไก่บ้าน มีลักษณะ สี ขนาด แตกต่างกัน

ประสบการณ์สำคัญ

1.สังเกตความแตกต่างของไก่
2.จำแนกไก่แต่ละสายพันธ์ได้


กิจกรรมการเรียนรู้

ขั้นนำ
1. ครูพาเด็กๆอ่านคำคล้องจองไก่
2.ครูถามเด็กๆว่าในคำคล้องจองมีไก่สายพันธ์ใดบ้าง
3.ครูถามเด็กว่านอกจากนี้ยังมีไก้สายพันธ์ใดที่เด็กๆรู้จักอีกบ้าง

ขั้นสอน
4.นำเล้าไก่ออกมาแล้วถามเด็กว่าในเล้ามีอะไรอยู่
5.หยิบไก่ออกมาจากเล้าแล้วถามเด็กๆว่า ''เด็กๆรู้ไหมว่านี่คือไก่สายพันธ์ใด''
6.เมื่อนำไก่ออกมาจากเล้าหมดแล้วให้เด็กๆช่วยนับไก่และหยิบตัวเลขมากำกับ
7.ให้เด็กแยกไก่ชนออกมาจากกองไก่แจ้และไก่ฟ้า
8.ครูถามเด็กๆว่าไก้สายพันธ์ไหนมากที่สุด และเด็กๆรู้ได้ไงว่ามากที่สุด
9.ครูพาเด็กๆพิสูจน์ด้วยวิธีการนับออก 1ต่อ1 โดยให้เด็กๆออกมาหยิบไก่โดยเหลือไก่สายพันธ์หนึ่งที่เหลืออยู่

ขั้นสรุป
10.ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปว่าไก่ที่เหลือสายพันธืสุดท้ายคือไก่ที่มากที่สุด
11.ครูถามเด็กๆว่าวันนี้เด็กรู้จักไก่สายพันธืใดบ้าง

สื่อ 

1. ชาร์ตคำคล้องจองไก่
2. เล้าไก่
3.รูปภาพไก่ชน
4.รูปภาพไก่แจ้
5.รูปภาพไก่ฟ้า
6.ตัวเลข


การวัดและประเมินผล

สังเกตการสนทนาและตอบคำถาม


การบูรณาการ

1. ภาษา
2. คณิตศาสตร์
3. วิทยาศาสตร์

การประยุกต์และการนำไปใช้Knowledge application


ประเมินอาจารย์ Teacher
อาจารย์สอนอย่างสนุกสนานและได้ทักษะกระบวนการคิด

ประเมินตนเอง my self
ใช้ความคิดและคิดตามอาจารย์ดี

ประเมินเพื่อน my friend
เพื่อนๆตั้งใจเรียนดี

การประยุกต์และการนำไปใช้Knowledge application
สามารถนำแผนการสอนนี้ไปปรับและชายได้แล้วนาคตการสอนควรสอนให้สอดคล้องสาระทางวิทยาศาสตร์และควรยึดหัวใจสำคัญของสิ่งที่จะสอนเช่นจะจะสอนเรื่องสายพันธุ์ก็ควรสอนเรื่องสายพันธุ์ไม่ควรไปสอนเรื่องลักษณะหรือหัวข้ออื่นๆ

ประเมินอาจารย์ Teacher
คำแนะนำของอาจารย์ในสิ่งที่นักศึกษาคิดนั้นทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างมาก

ประเมินตนเอง my self
ใช้ความคิดในการคิดแผนและตั้งใจฟังคำแนะนำได้ดี

ประเมินเพื่อน my friend
เพื่อนๆตั้งใจฟังและตั้งใจคิดแผนของตนเอง


สื่อการสอนวิทยาศาสตร์





โครงงานทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย เรื่อง วัตถุจมน้ำ/ลอยน้ำ

โดยการคุณครูแนะนำและใช้คำถามกระตุ้นให้เด็กเกิดความสนใจและอยากเรียนรู้

จากนั้นแนะนั้นวัสถุชนิดต่างๆ ดังนี้ 
  • หิน
  • ลูกปิงปอง
  • ยางลบ
  • ลูกแก้ว


โดยใช้ตำถามกระตุ้นให้เด็กได้ใช้ประสบการณ์เดิมในการตอบชื่อวัสถุชนิดนั้นๆและให้แรงเสริมเมื่อเด็กตอบ
จากนั้นเริ่มการทดลองโดยให้เด็กๆได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมคือการโยนวัสถุลงในน้ำและสังเกตการเปลี่ยนแปลงว่าวัสถุนั้นจมหรือลอยตัว
จากนั้นจึงสรุปผล


สรุปบทความ  

 โลกของเราดำเนินอยู่ได้อย่างไร ? เด็กปฐมวัยไขคำตอบในวันนักวิทยาศาสตร์น้อย 2556

สสวท. ได้เห็นความสำคัญของการปลูกฝังการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตั้งแต่ระดับปฐมวัยโดยได้ดำเนินโครงการบูรณาการวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีปฐมวัยขึ้นตั้งแต่ปีพ.ศ. 2549 เป็นต้นมาในรูปแบบกิจกรรมบูรณาการสหวิชาให้เด็กได้เรียนรู้ผ่านการสืบเสาะหาความรู้การคิดและลงมือแก้ไขปัญหาด้วยประสบการณ์ตรงอย่างเหมาะสมกับวัยและเป็นปีตามหลักการจัดการศึกษาปฐมวัย
ซึ่งสสวทได้จัดทำกรอบมาตรฐานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ปฐมวัย หนังสือคู่มือกรอบมาตรฐานเอกสารตัวอย่างการจัดกิจกรรมชุดอุปกรณ์และสื่อบูรณาการวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีปฐมวัย อบรมครูและอื่นๆตามโครงการโดยมีครูตามภูมิภาคต่างๆได้นำแนวทางของสสวท. ไปจัดการเรียนการสอนตามสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ในท้องถิ่น

โครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยเป็นโครงการที่พัฒนากิจกรรมสำหรับเด็กระดับปฐมวัยในด้านกระบวนการคิดสร้างพื้นฐานความพร้อมในการพัฒนาต่อยอดไปเป็นนักวิทยาศาสตร์ในอนาคตซึ่งสอดคล้องกับแนวทางของสสวท. ดังนั้นจึงได้เข้าร่วมโครงการนี้ภายใต้ความร่วมมือกับมูลนิธิสมเด็จพระเทพพระราชราชสุดาฯ สยามบรมมราชกุมารี สำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน สพฐ. มหาวิทยาลัยและองค์กรเอกชนต่างๆโดยมีโรงเรียนระดับปฐมวัยที่ได้ใช้แนวทางของโครงการเกินกว่าครึ่งหนึ่งของโรงเรียนทั้งหมดที่จัดการศึกษาปฐมวัยทั่วประเทศ

กิจกรรมในวันนี้ตัวน้อยในสถานที่ต่างๆจะได้ร่วมกันหาคำตอบจากคำถามที่ว่าลูกสาวเราดำเนินอยู่ได้อย่างไรเนื่องจากมนุษย์ตเป็นผู้ใช้ทรัพยากรดิน น้ำอากาศ และพลังงานจึงมุ่งหวังให้เด็กเด็กตระหนักถึงการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน โดยมองเห็นประโยชน์ของทรัพยากรเหล่านี้จากการทำกิจกรรมมี
6กิจกรรมประกอบด้วย

  • กิจกรรมหวานเย็นชื่นใจ 
  • ความลับของดิน
  •  ถึงร้อนก็อร่อยได้
  •  มหัศจรรย์กังหันลม
  • ว่าวเล่นลม
  •  โมบายเริงลม


กิจกรรมหวานเย็นชื่นใจ

จะทำให้ค้นพบว่าโดยปกติน้ำและน้ำหวานเป็นของเหลวเมื่อนำไปแช่ในน้ำแข็งที่ใส่เกลือซึ่งมีอุณหภูมิต่ำกว่า 0 องศาเซลเซียสทำให้น้ำและน้ำหวานมีอุณหภูมิลดต่ำลงจนเปลี่ยนเป็นเกร็ดน้ำแข็ง

กิจกรรมความลับของดิน

เด็กเด็กช่วยกันทดลองเพื่อพิสูจน์ว่าดินมีองค์ประกอบเป็นหินที่ผุพังสลายตัวซากพืชซากสัตว์อากาศและน้ำดังนั้นส่วนที่เป็นของแข็งที่อยู่ในดินจึงมีขนาดแตกต่างกัน เมื่อเทน้ำลงไปอากาศก็จะออกมาจากดินเป็นฟองให้เห็นและจะพบว่าอนุภาคที่มีขนาดใหญ่จะตกตะกอนลงสู่ก้นภาชนะและอนุภาคที่มีขนาดเล็กกว่าจะค่อยค่อยตกลงมาเนื่องจากแรงดึงดูดของโลกเมื่อการตกตะกอนสิ้นสุดลงจะมองเห็นดินเป็นชั้นๆส่วนซากพืชซากสัตว์ก็จะลอยอยู่บนหน้าของน้ำทำให้เห็นองค์ประกอบของดินด้วย

กิจกรรมถึงร้อนก็อร่อยได้

ดวงอาทิตย์เป็นแหล่งพลังงานความร้อนและแสงสว่างของโลกพื้นผิวโลกที่มีลักษณะแตกต่างกันจะดูดกลืนพลังงานความร้อนไว้ได้ต่างกันซึ่งจะพบจากการสัมผัสแผ่นกระเบื้องสีดำและสีขาวที่วางไว้กลางแจ้งเมื่อเด็กเด็กขึ้นไปเหยียบบนแผ่นกระเบื้องสีดำจะรู้สึกร้อนกว่าเนอะสีดำดูดกลืนพลังงานความร้อนไว้มากกว่ากินถ่ายโอนความร้อนมายังเท้าของเรามากกว่านอกจากนี้ในชีวิตประจำวันเรายังใช้ประโยชน์จากพลังงานความร้อนได้อย่างมากมายโดยในกิจกรรมนี้ได้ว่าความร้อนทำให้หลอมยึดติดกับขนมปัง

กิจกรรมมหัศจรรย์กังหันลม

พลังงานจากลมเป็นพลังงานสะอาดจากธรรมชาติซึ่งมีประโยชน์ต่อมนุษย์มากมายกิจกรรมนี้จะช่วยให้เข้าใจว่าพลังงานจากลมทำให้กังหันหมุนได้ซึ่งสามารถที่จะใช้พลังงานจากการหมุนต่อยอดไปทำประโยชน์อื่นเช่นการผลิตกระแสไฟฟ้าการยกของ

กิจกรรมว่าวเล่นลม

อากาศมีแรงกระทำต่อวัตถุจากสมบัติดังกล่าวสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ในกิจการที่รู้จักกันดีคือการเล่นว่าวแรงกระทำของอากาศจะช่วยให้ ว่าว ลอยอยู่ในอากาศได้ และรูปร่างตลอดจนหางว่าวก็มีส่วนช่วยให้ ว่าว สมดุลย์อยู่ในอากาศ

กิจกรรมโมบายเริงลม

พลังงานจากลมช่วยให้สิ่งของต่างๆเกิดการเคลื่อนที่ในกิจกรรมนี้เมื่อเด็กเด็กทำโมบายที่สวยงามแล้วนำไปแขวนในที่ที่มีลมพัดโมบายก็จากพื้นที่และเกิดเสียงที่ไพเราะนอกจากนี้ในการทำโมบายจะเข้าใจหลักการสมดุลย์ของแรง

กิจกรรมที่เด็กปฐมวัยได้เรียนรู้ทั้งหมดเน้นการสร้างประสบการณ์เรียนรู้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมใกล้ตัวเพื่อเริ่มต้นทำความเข้าใจเกี่ยวกับโลกเราอาศัยกิจกรรมที่นำไปสู่การค้นพบคำตอบเกี่ยวกับดินน้ำอากาศและไฟจากการทดลองค้นคว้าง่ายง่ายตามศักยภาพของเด็กโดยกระตุ้นการเรียนรู้จากการตั้งคำถามและร่วมกันค้นหาคำตอบไปพร้อมพร้อมกัน



สรุปวิจัย



เรื่องการพัฒนาแผนการจัดประสบการณ์เรียนรู้แบบบูรณาการหน่วยธรรมชาติรอบตัวเรื่องฝนชุ่มฉ่ำชั้นอนุบาลปีที่สองโดยใช้เทคนิคtgt

การศึกษาค้นคว้าอิสระของยุทัยทิพย์. ชาครนิธิพงศ์

เสนอต่อมหาวิทยาลัยมหาสารคามเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาการศึกษามหาบัณฑิตสาขาวิชาหลักสูตรและการสอน 


ลิขสิทธิ์เป็นของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม


ความมุ่งหมายของการศึกษาค้นคว้า
เพื่อพัฒนาแผนการจัดประสบการณ์เรียนรู้แบบบูรณาการหน่วยธรรมชาติรอบตัวเรื่องฝนชุ่มฉ่ำชั้นอนุบาลปีที่สองโดยใช้เทคนิคtgtที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80
เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิภาพของแผนจัดประสบการณ์เรียนรู้แบบบูรณาการโดยธรรมชาติรอบตัวเรื่องฝนชุ่มฉ่ำชั้นอนุบาลปีที่สองโดยใช้เทคนิคtgt
เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดประสบการณ์เรียนรู้แบบบูรณาการหน่วยธรรมชาติรอบตัวเรื่องฝนชุ่มฉ่ำชั้นอนุบาลปีที่สองโดยใช้เทคนิคtgt

ความสำคัญของการศึกษาค้นคว้า
ได้แผนการจัดประสบการณ์เรียนรู้แบบบูรณาการโดยธรรมชาติรอบตัวเรื่องฝนชุ่มฉ่ำชั้นอนุบาลปีที่สองโดยใช้เทคนิคtgtที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80 80 เพื่อนำไปจัดประสบการณ์เพื่อนำไปจัดประสบการณ์ให้สอดคล้องกับพัฒนาการและความต้องการความสนใจของผู้เรียน

ได้แนวทางสำหรับผู้สอนและผู้สนใจในการสร้างแผนการจัดประสบการณ์เรียนรู้ชั้นอนุบาลให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสอดคล้องกับการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

ขอบเขตของการศึกษาค้นคว้า
วิธีดำเนินการศึกษาค้นคว้า
1.ประชากรกลุ่มตัวอย่าง
ได้แก่นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่สองภาคเรียนที่หนึ่งปีการศึกษา 2549 กลุ่มโรงเรียนห้วยแถลงอำเภอห้วยแถลงสำนักงานเขตที่การศึกษานครราชสีมาจำนวน 120 คน

2.กลุ่มตัวอย่างได้แก่เรียนชั้นอนุบาลปีที่สองโรงเรียนบ้านแสนสุขตำบลห้วยแถลงอำเภอห้วยแถลงสังกัดเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมา จำนวน 24คนซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (purposive samlping)

3.เนื้อหาสาระที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าได้แก่เนื้อหาในหน่วยธรรมชาติรอบตัวเรื่องฝนชุ่มฉ่ำชั้นอนุบาลปีที่สองมีทั้งหมด 10 แผน

  • แผนที่หนึ่งการเกิดฝน
  • แผนที่สองปรากฏการณ์ธรรมชาติแผ
  • นที่สามสัตว์ที่พบมากในฤดูฝน
  • แผนที่สี่ประโยชน์ของฝน
  • แผนที่ห้าโทษของฝน
  • แผนที่หกการปฏิบัติตนในฤดูฝน
  • แผนที่เจ็ดโรคที่เกิดในฤดูฝน
  • แผนที่แปดการทำนาปลูกข้าว 
  • แผนที่เก้าวันเข้าพรรษา
  • แผนที่สิบการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม


4.ระยะเวลาในการศึกษาค้นคว้าได้แก่ภาคเรียนที่หนึ่งปีการศึกษา 2549 ระหว่างวันที่ 1 พฤษภาคม 2549 ถึง 30 กันยายน 2549

วิธีดำเนินการศึกษาค้นคว้า

ประชากรกลุ่มตัวอย่าง
ได้แก่นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่สองภาคเรียนที่หนึ่งปีการศึกษา 2549 กลุ่มโรงเรียนห้วยแถลงอำเภอห้วยแถลงสำนักงานเขตที่การศึกษานครราชสีมาจำนวน 120 คน
กลุ่มตัวอย่าง
ได้แก่เรียนชั้นอนุบาลปีที่สองโรงเรียนบ้านแสนสุขตำบลห้วยแถลงอำเภอห้วยแถลงสังกัดเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมา จำนวน 24คนซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (purposive samlping)


เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า
มีสามชนิดคือ

  • แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบบูรณาการหน่วยธรรมชาติรอบตัว เรื่องฝนชุ่มฉ่ำชั้นอนุบาลปีที่สองโดยใช้เทคนิคทีจีทีจำนวน 10 แผนเวลา 10 ชั่วโมง

  • แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหน่วยธรรมชาติรอบตัวเรื่องฝนชุ่มฉ่ำชั้นอนุบาลปีที่สองโดยใช้เทคนิคทีจีทีจำนวน 20 ข้อ

  • แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดประสบการณ์เรียนรู้แบบบูรณาการหน่วยธรรมชาติรอบตัวเรื่องฝนชุ่มฉ่ำชั้นอนุบาลปีที่สองโดยใช้เทคนิคทีจีทีจำนวน 10 ข้อ

ขั้นตอนดำเนินการศึกษาค้นคว้า
1.ทดสอบก่อนเรียนด้วยแบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยธรรมชาติรอบตัวเรื่องฝนชุ่มฉ่ำจำนวน 20 ข้อดำเนินการโดยผู้ศึกษาค้นคว้าเป็นผู้อ่านคำสั่งและคำถามของแบบทดสอบให้นักเรียนฟัง
2.ดำเนินการสอนโดยใช้แผนจัดประสบการณ์เรียนรู้แบบบูรณาการโดยธรรมชาติรอบตัวเรื่องฝนชุ่มฉ่ำโดยใช้เทคนิคทีจีทีที่ผู้ศึกษาค้นคว้าพัฒนาขึ้นสำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่สองจำนวน 10 แผนโดยมีวิธีการและขั้นตอนจัดกิจกรรมการเรียนรู้ดังนี้

ขั้นที่หนึ่งแบ่งกลุ่มนักเรียนคละความสามารถ เก่งกลางอ่อน

ขั้นที่สองผู้นำเสนอความรู้ใหม่แก่นักเรียนนำเสนอด้วยสื่อที่น่าสนใจทั้งชั้นเรียน

ขั้นที่สามนักเรียนร่วมกันศึกษาทบทวนความรู้ร่วมกันโดยจับคู่ฝึกถามตอบจากแบบฝึกทักษะ เพื่อเตรียมตัวเข้าแข่งขัน
ที่สี่ส่งตัวแทนของแต่ละกลุ่มออกมาแข่งขันหน้าชั้นเรียนที่รักกลุ่มมาความสามารถโดยแยกเป็นสีเขียวคือเก่งสีเหลืองคือปานกลางสีชมพูคือปานกลางและสีแดงคืออ่อนให้คะแนนตามกติกาการแข่งขัน  

ขั้นที่ห้ารวมคะแนนของแต่ละกลุ่มที่ออกมาแข่งขันเสนอผลการแข่งขันและชมเชยให้รางวัล
สามทดสอบหลังเรียนโดยใช้แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน. เช่นเดิมและปฏิบัติเช่นเดียวกับการสอบก่อนเรียนและวัดความพึงพอใจในการเรียนรู้ที่มีต่อการจัดประสบการณ์เรียนรู้แบบบูรณาการหน่วยธรรมชาติรอบตัวเรื่องฝนชุ่มฉ่ำโดยใช้เทคนิคทีจีที

ผลการใช้แผนการจัดประสบการณ์เรียนรู้แบบบูรณาการหน่วยธรรมชาติรอบตัวเรื่องฝนชุ่มฉ่ำกันอนุบาลปีที่สองโดยใช้เทคนิคทีจีทีที่ผู้ศึกษาค้นคว้าสร้างขึ้นปรากฏดังนี้

  • มีประสิทธิภาพ 86 . 94 / 83 . 12 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้
  • ดัชนีสิทธิผลของแผนมีค่าเท่ากับ0.7137ซึ่งหมายถึงนักเรียนมีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพิ่มขึ้นหลังจากเรียนด้วยแผนจัดประสบการณ์เรียนรู้แบบบูรณาการหน่วยธรรมชาติรอบตัว เรื่องฝนชุ่มฉ่ำโดยใช้เทคนิคทีจีทีคิดเป็นร้อยละ 71 . 37
  • ความพึงพอใจต่อการจัดประสบการณ์เรียนรู้อยู่ในระดับมาก



วันเสาร์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 11
วันที่ 18 ตุลาคม 2559

เนื้อหาที่เรียน
นำเสนอของเล่นวิทยาศาสตร์ของแต่ละกลุ่มที่สามารถนำไปจัดวางมุมต่างๆได้
เช่นไข่มหัศจรรย์ แม่เหล็กเต้นระบำ  วงจรของโลก  ระบบสุริยจักรวาล  จานหรรษา  ผีเสื้อเลิงระบำนาฬิกาธรรมชาติ  ภาพใต้น้ำ  และทวินเพลน


วัสดุอุปกรณ์

  1. ลวดหนึ่งขด
  2. ถ่านไฟฉายขนาดใหญ่ที่ไม่ใช้แล้วหรือวัสดุอื่นๆที่สามารถนำมาทำฐานได้
  3. รูปเครื่องบินจำนวนสองรูป
  4. กาว
  5. กรรไกร


ขั้นตอนการทำ

ดัดลวดให้เป็นสปริงดังรูป


ความยาวขอวลวดแล้วแต่ความต้องการ




จากนั้นนำลวดที่ขวดไว้ไปใส่ฐานและตกแต่งให้สวยงาม



ขั้นตอนต่อมาดัดลวดให้เป็นแบบดังภาพและติดรูปเครื่องบินลงไปทั้ง 2ฝั่งของลวด




วิธีการเล่น

นำลวดเครื่องบินมาวางบนลวดสปริง แล้วปล่อยจากนั้นลวดเครื่องบินจะร่อนลง


หลักการทางวิทยาศาสตร์
แรงเสียดทาน

บูรณาการ
คณิตศาสตร์  จำนวนของเครื่องบิน
ภาษา













การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์โดยใช้แนวคิด STEM
หลักการเลือกหัวข้อ
  • เรื่องที่ใกล้ตัวเด็กหรือเรื่องที่เด็กสนใจใช้อยู่ในชีวิตประจำวัน.  
  • เรื่องที่ส่งผลกระทบต่อตัวเด็ก

นำหัวข้อเรื่องมาแต่องค์ความรู้โดยประกอบด้วย
  • ชื่อเรียก สายพันธุ์ ประเภท
  • ลักษณะเช่น ส่วนประกอบ ขนาด
  • การดูแลรักษา การดำรงชีวิต  การเจริญเติบโต
  • การถนอมอาหารการแปรรูป
  • ประโยชน์    1 ต่อตนเอง   2เชิงพาณิชย์
  • ข้อควรระวัง


เครื่องมือในการเรียนรู้

  • ภาษา  
    • ฟัง  พูด  อ่าน  เขียน
  • คณิตสาสตร


กรอบมาตรฐานวิทยาศาสตร์ปฐมวัย  8สาระ


สาระที่ 1 สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต สาระเกี่ยวกับพืช  ได้แก่  พืช  เรื่องที่นำมาเรียนได้แก่  ต้นไม้  ดอกไม้  ผลไม้  การปลูกพืช  การใช้ประโยชน์จากพืช
สาระที่ 2 ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม สาระเกี่ยวกับสัตว์  ได้แก่  ประเภทของสัตว์  สวนสัตว์  การเลี้ยงสัตว์
สาระที่ 3 สารและสมบัติของสาร สาระเกี่ยวกับฟิสิกส์  เช่น  การจม  การลอย  ความร้อน  ความเย็น
สาระที่ 4 แรงและการเคลื่อนที่ 
สาระที่ 5 พลังงาน 
สาระที่ 6 กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก
สาระที่ 7ดาราศาสตร์และอวกาศ   ได้แก่  ดวงอาทิตย์  ดวงจันทร์  ดาว  ฤดูกาล
 สาระที่ 8 ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

วิธีการทางวิทยาศาสตร์

  •  การตั้งขอบข่ายปัญหา
  • การตั้งสมมติฐาน
  • การทดลองใช้การสังเกตเป็นการรวบรวมข้อมูล
  • วิเคราะ์สรุปอภิปราย


ต้องคำนึงถึงเจตคติทางวิทยาศาสตร์

  • ความอยากรู้อยากเห็นทำให้เกิดข้อสงสัยหรือปัญหา
  • ความเพียรพยายาม
  • ความรอบคอบ
  • มีความซื่อสัตย์
  • การมีเหตุยอมรับตามเหตุ
  • ใจกว้าง



การประยุกต์และการนำไปใช้Knowledge application
ของเล่นควรทำมาจากวัสดุเหลือใช้จะได้เห็นคุณค่าของสิ่งของ
การจัดกิจกรรมนั้นควรสอดคล้องกับสาระการเรียนรู้ของกลุ่มวิชาต่างๆที่บูรณาการ

ประเมินอาจารย์ Teacher
อาจารย์สอนอย่างสนุกสนานและได้ทักษะกระบวนการคิด

ประเมินตนเอง my self
ใช้ความคิดและคิดตามอาจารย์ดี

ประเมินเพื่อน my friend
เพื่อนๆตั้งใจเรียนดี

บันทึกการเรียนครั้งที่ 13
วันที่ 1 พฤศจิกายน 2559


เนื้อหาที่เรียน
นำเสนอวีดีโอสื่อการสอนของเล่นวิทยาศาสตร์


ของเล่น พลังปริศนา



และผลงานของเพื่อนกลุ่มอื่น


รถหลอดด้าย   



ขวดบ้าพลัง



ลูกข่างนักสืบ



หลักการทำสื่อวิดีโอ

  • การแนะนำอุปกรณ์ควรมีตัวหนังสือบอกจำนวนอุปกรณ์เช่นสายยางหนึ่งเส้นเป็นการบูรณาการวิชาคณิตศาสตร์และต้องมีตัวหนังสือเขียนอธิบายทุกขั้นตอนตัวหนังสือนั้นควรเป็นตัวอักษรที่เป็นทางการและเมื่อจบการประดิษฐ์ควรมีผังกราฟฟิคของขั้นตอนการทำเพื่อเป็นการทบทวนขั้นตอนการประดิษฐ์ในวิดีโอนั้นไม่ควรบอกวิธีการเล่นแต่คนนำมาเชื่อมโยงในห้องเรียนให้เด็กได้คิดและสังเกตหาวิธีการเล่นเอง



ต่อมาเป็นการบูรณาการการเรียนการสอนในหน่วยไก่

คณิตศาสตร์ ประกอบไปด้วย6 มาตรฐาน ดังนี้
    • สาระที่หนึ่ง               จำนวนและการดำเนินการ
    • สาระที่สอง               การวัด
    • สาระที่สาม               เรขาคณิต
    • สาระที่สี่                   พีชคณิต
    • สาระที่ห้า                 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
    • สาระที่หก                ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์

วิทยาศาสตร์
ทักษะทางวิทยาศาสตร์ประกอบด้วย 13 ทักษะ 
    • ทักษะที่ 1 ทักษะการสังเกต (Observation) 
    • ทักษะที่ 2 ทักษะการวัด (Measurement) 
    • ทักษะที่ 3 ทักษะการจำแนกประเภท (Classification) 
    • ทักษะที่ 4 การหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปสและสเปสกับเวลา (Spacs / Spacs Reation and Space /Time Relation) 
    • ทักษะที่ 5 การคำนวน (Using Number) 
    • ทักษะที่ 6 การจัดทำและสื่อความหมายข้อมูล (Organizing Data and Communication) 
    • ทักษะที่ 7 การลงความคิดเห็นจากข้อมูล (Inferring) 
    • ทักษะที่ 8 การพยากรณ์ (Prediction) 
    • ทักษะที่ 9 การตั้งสมมติฐาน (Formulating Hypothesis) 
    • ทักษะที่ 10 การกำหนดนิยามเชิงปฏิบัติการ (Defining Operation) 
    • ทักษะที่ 11 การกำหนดและควบคุมตัวแปร (Identifying and Controlling Variables) 
    • ทักษะที่ 12 การทดลอง (Experiment) 
    • ทักษะที่ 13 การตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป (Interperting Data and Making) 

กรอบมาตรฐานวิทยาศาสตร์ปฐมวัย  8สาระ
    • สาระที่ 1 สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต สาระเกี่ยวกับพืช  ได้แก่  พืช  เรื่องที่นำมาเรียนได้แก่  ต้นไม้  ดอกไม้  ผลไม้  การปลูกพืช  การใช้ประโยชน์จากพืช
    • สาระที่ 2 ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม สาระเกี่ยวกับสัตว์  ได้แก่  ประเภทของสัตว์  สวนสัตว์  การเลี้ยงสัตว์
    • สาระที่ 3 สารและสมบัติของสาร สาระเกี่ยวกับฟิสิกส์  เช่น  การจม  การลอย  ความร้อน  ความเย็น
    • สาระที่ 4 แรงและการเคลื่อนที่ 
    • สาระที่ 5 พลังงาน 
    • สาระที่ 6 กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก
    • สาระที่ 7ดาราศาสตร์และอวกาศ   ได้แก่  ดวงอาทิตย์  ดวงจันทร์  ดาว  ฤดูกาล
    •  สาระที่ 8 ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

กระบวนการทางวิทยาศาสตร์

    • ขั้นที่หนึ่งกำหนดขอบข่ายของปัญหา
    • ขั้นที่สองตั้งสมมติฐาน
    • ขั้นที่สามทดลองและเก็บข้อมูล
    • ขั้นที่สี่วิเคราะห์ข้อมูลขั้นที่ห้าสรุปผลคำตอบสมมุติฐาน
ศิลปะวาด
    • ภาพระบายสี
    • การปั้น
    • การฉีกตัดแปะ
    • การประดิษฐ์
    • การพิมพ์ภาพ
    • การเล่นกับสี

สังคม
    • การอยู่ร่วมกับผู้อื่นแบ่งออกเป็นงานกลุ่มและงานคู่
    • การช่วยเหลือตนเองแบ่งออกเป็นงานเดียว

การบูรณาการผ่าน 6 กิจกรรมหลักโดยใช้ผังความคิด

กิจกรรมหลัก 6 กิจกรรมของเด็กปฐมวัยมีดังนี้
1. กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
2. กิจกรรมสร้างสรรค์ 
3. กิจกรรมเสรี 
4. กิจกรรมเสริมประสบการณ์
5. กิจกรรมกลางแจ้ง 
6. กิจกรรมเกมการศึกษา


การประยุกต์และการนำไปใช้Knowledge application
การจัดกิจกรรมนั้นควรสอดคล้องกับสาระการเรียนรู้ของกลุ่มวิชาต่างๆที่บูรณาการ

ประเมินอาจารย์ Teacher
อาจารย์ให้ความรู้และกระตุ้นให้นักศึกษาได้ใช้ความคิดเสมอ

ประเมินตนเอง my self
วันนี้สนุกสนานและไดความรู้มาก

ประเมินเพื่อน my friend
เพื่อนๆช่วยกันทำงานกลุ่มเป็นอย่างดี