Free Lines Arrow

วันอังคารที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2559

 บันทึกการเรียนครั้งที่ 5
วันที่ 6 กันยายน 2559




ความรู้ที่ได้รับ

วันนี้ได้ดูวิดีโออากาศมหัศจรรย์ที่เป็นเรื่องเกี่ยวกับอากาศ
โดยอากาศนั้นมีตัวตนมีน้ำหนักและอากาศต้องการที่อยู่ถ้ามีอะไรมาแทนที่อากาศอากาศก็จะเคลื่อนตัวไปรอบรอบเช่นการทดลองจุดธูปในกล่องเมื่ออากาศเย็นตัวลงจะลอยสู่ที่ต่ำ



หลังจากนั้นนำเสนอของเล่นที่เตรียมมา



ของเล่นจะมีหลายแบบเช่นของเล่นแบบเป็นทางการหรือของเล่นแบบไม่เป็นทางการและมีของเล่นแบบกึ่งทางการเช่นของเล่นที่วางไว้ตามมุมประสบการณ์ต่างๆ

การประยุกต์และการนำไปใช้

ได้รู้ถึงเรื่องอากาศเป็นเรื่องใกล้ตัวทำให้ได้รู้ถึงหลักการทางวิทยาศาสตร์ของอากาศและสามารถนำไปใช้ในการสอนเด็กประถมวัยในอนาคตได้โดยปรับใช้รูปแบบการสอนโดยการนำเสนอสื่อการสอนเป็นของเล่นแบบต่างๆที่เพื่อนนำเสนอได้



ประเมินอาจารย์
วันนี้ได้ดูวีดีโอที่อาจารย์นำมาให้ดูมีความรู้อย่างมากและการแนะนำของเล่นที่ตนเองและเพื่อนนำมานั้นก็ทำให้ได้รัยความรู้เพิ่มมากขึ้น

ประเมินตนเอง
วันนี้สนุกสนานและได้รับความรู้ตากวีดีโออยางมาก

ประเมินเพื่อน
เพื่อนๆตั้งใจดูวีดีโอและนำเสนอของเล่น


 บันทึกการเรียนครั้งที่ 4
วันที่ 30 สิงหาคม 2559

ความรู้ที่ได้รับ

คัดลายมืออักษรหัวกลมตัวเหลี่ยม






กิจกรรมต่อมา

กิจกรรมต่อมาอาจารย์ได้แจกอุปกรณ์ให้สองชิ้นคือกระดาษเอสี่หนึ่งแผ่นและคลิปหนึ่งอัน
ให้สร้างสื่อในการเรียนการสอนในเรื่องอากาศโดยต้องคำนึงถึงหลักวิทยาศาสตร์ด้วย

กลุ่มของดิฉันนำเสนอสื่อการสอนคือพัดเป็นเรื่องของลม
เพื่อนกลุ่มอื่นนำเสนอ เช่น เรื่องการเกิดฝน พลังงานลม วงจรฤดูกาล แรงต้านอากาศ เป็นต้น

จากนั้นอาจารย์ได้นำเสนอว่าสื่อการสอนที่ดิฉันนำเสนอคือพัดนั้นเกี่ยวกับเรื่องลมเป็นเรื่องของการมีตัวตนของอากาศ อาจารย์ได้ยกตัวอย่างโดยการใช้ถุงพลาสติกครอบอากาศและปิดปากถุงจะเห็นได้ว่ามีอากาศอยู่ในถุงแสดงว่าอากาศนั้นมีตัวตน


ประดิษฐ์ของเล่นวิทยาศาสตร์ที่เด็กปฐมวัยสามารถประดิษฐ์ได้เอง 
ชื่อของเล่น   ทะเลน้อยคอยเด็กเด็ก


อุปกรณ์
1. น้ำมันพืช
2. ขวดพลาสติกเหลือใช้และน้ำเปล่า
3.สีผสมอาหาร
4. สัตว์ทะเลจำลอง


ขั้นตอนการทำ

อันดับแรกนำน้ำเปล่าเทใส่ขวดพลาสติกเหลือใช้




ต่อมาเทสีผสมอาหารตามลงไป


จากนั้นก็เติมน้ำมันพืชลงไปจะเห็นได้ว่าน้ำและน้ำมันพืชแยกชั้นกันอย่างชัดเจน







สุดท้ายตกแต่งขวดและใส่สัตว์ทะเลจำลองได้ตามชอบใจ


วิธีการเล่น
      
          ให้เด็กได้ดูการจำลองทะเลในขวดและสังเกตการแยกชั้นของน้ำและน้ำมัน
สามารถกลับขวดให้เหมือนกับนาฬิการทรายจะทำให้มีความเพลิดเพลินในการเล่นมากขึ้น



หลักการทางวิทยาศาสตร์
ความหนาแน่น คือ การวัดมวลต่อหนึ่งหน่วยปริมาตร ยิ่งวัตถุมีความหนาแน่นมากขึ้น มวลต่อหน่วยปริมาตรก็ยิ่งมากขึ้น กล่าวอีกนัยหนึ่ง คือวัตถุที่มีความหนาแน่นสูง (เช่น เหล็ก) จะมีปริมาตรน้อยกว่าวัตถุความหนาแน่นต่ำ (เช่น น้ำ) ที่มีมวลเท่ากัน 

จากความหนาแน่ข้างต้น ที่น้ำมันแยกชั้นกับน้ำนั้นเพราะน้ำมันมีความหนาแน่นน้อยกว่าน้ำทำให้มันเบากว่าและลอยตัวขึ้นมาเหนือน้ำ การที่ของเหลว 2 ชนิด จะสามารถผสมกลมกลืนเข้าหากันเป็นสารผสมได้นั้นของเหลว 2 ชนิดนั้นต้องมีคุณสมบัติเหมือนๆ


คำศัพท์

ลม                               wind

แรงต้านอากาศ           Air resistance

แรงดันอากาศ             Air Pressure

ความหนาแน่น            Density

น้ำมัน                          oil


การประยุกต์และนำไปใช้

ทำให้ได้รู้ว่าการสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยนั้นควรที่จะสอนเรื่องที่อยู่ใกล้ตัวเด็กและควรสอนในสิ่งที่เด็กเรียนรู้ได้ง่ายไม่ซับซ้อน และการสอนนั้นไม่ใช่เพียงแต่ว่าจะสอนโดยไม่มีหลักการจะต้องมีหลักการอ้างอิงเสมอครูปฐมวัยจะต้องหาความรู้อย่างต่อเนื่องในหัวข้อที่สอน

ประเมินอาจารย์
อาจารย์แต่งกายเรียบร้อยและให้ความรู้อย่างชัดเจนการสอนของอาจารย์นั้นมีความละเอียดอยู่เสมอ

ประเมินตนเอง
ตั้งใจฟังอาจารย์และคิดตามอย่างต่อเนื่อง

ประเมินเพื่อน
เพื่อนๆมีความตั้งใจและร่วมทำกิจกรรมระดมสมองกันอย่างสนุกสนาน

 มหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ 2559
 National Science and Technology Fair












วันเสาร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2559

 บันทึกการเรียนครั้งที่ 2
วันที่ 22 สิงหาคม 2559
เนื้อหาที่เรียน

วิธีการทางวิทยาศาสตร์ = ค้นหาความจริง

ประกอบด้วย

การสังเกต
การสำรวจ
การวิเคราะห์
การทดลอง -เพื่อได้ความรู้ข้อเท็จจริง
การตั้งข่อบข่ายของปัญหา  -เมื่อเกิดปัญหาสามารถนำข้อมูลมาใช้ได้ 
และการสรุป

การตั้งข่อบข่ายของปัญหา (การตั้งสมมุติฐาน) ➨ เมื่อเกิดปัญหา➨นำข้อมูลไปใช้



                                              การใช้ทักษะทั้ง5ประสาทสัมผัส
การทดลอง        ➨ 
                                              การรวบรวมข้อมูล

*´¨`*•.¸¸.•*´¨`*•.¸¸.•*´¨`*•.¸¸.•*´¨`*•.¸¸.•


วิทยาศาสตร์หมายถึง การสืบค้นหาข้อมูลความจริงที่เกี่ยวกับสิ่งต่างๆรอบตัวโดยผ่านกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ โดยใช้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ การสังเกต การทดลอง การใช้เหตุผล การสำรวจ การแก้ปัญหา การวิเคราะห์ และการสรุป เป็นต้น เพื่อให้ได้มาซึ่งความรู้และข้อเท็จจริงในเรื่องวิทยาศาสตร์

วิทยาศาสตร์คือ
1การเปลี่ยนแปลงได้
2.การปรับตัว
3.ความแตกต่าง
4.การพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน
5.ความสมดุล

*´¨`*•.¸¸.•*´¨`*•.¸¸.•*´¨`*•.¸¸.•*´¨`*•.¸¸.•


เนื้อหาสาระที่เรียน 4 สาระ

1.ธรรมชาติรอบตัว                                                                                                              
2.สิ่งต่างๆรอบตัว                                            
3.เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่
4.เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก                                                                                      

 ➤ จะใช้เรื่องอะไรมาเรียนดูจาก  

  • ความสนใจของเด็ก
  • ผลกระทบต่อตัวเด็ก
  • สิ่งแวดล้อมใกล้ตัวเด็ก


*´¨`*•.¸¸.•*´¨`*•.¸¸.•*´¨`*•.¸¸.•*´¨`*•.¸¸.•


เครื่องมือในการเรียนรู้
1.ภาษา
2.คณิตศาสตร์


*´¨`*•.¸¸.•*´¨`*•.¸¸.•*´¨`*•.¸¸.•*´¨`*•.¸¸.•


เจตคติทางวทยาศาสตร์
1.อยกรู้อยากเห็น
2.ความพยายาม
3.ความระมัดระวัง รอบคอบ ความมีระเบียบ
4.มีความซื่อสัตย์
5.มีเหตุผล
6.ใจกว้าง


*´¨`*•.¸¸.•*´¨`*•.¸¸.•*´¨`*•.¸¸.•*´¨`*•.¸¸.•


ประโยชน์ของวิทยาศาสตร์

  • เป็นสิ่งที่ตอบสนองต่อการดำรงชีวิตเพื่อความสะดวกสบาย
  • สำคัญต่อการสร้างเสริมประสบการณ์ให้เรา
  • ทำให้เกิดความเชื่อมั่นในตนเอง


*´¨`*•.¸¸.•*´¨`*•.¸¸.•*´¨`*•.¸¸.•*´¨`*•.¸¸.•


ปฐมวัย อายุ 5ปี 29วัน
มีการเปลี่ยนแปลงไปตามลำดับขั้นตอนอย่างต่อเนื่อง


  • บ่งบอกความสามารถของเด็กว่าเด็กสามารถทำอะไรได้บ้างในแต่ล่ะช่วงอายุ
  • เป็นพฤติกรรมที่สะท้อนออกมาจากพัฒนาการ




เมื่อรู้พัฒนาการเด็กทำให้รู้เขารู้เรา  สามารถออกแบบกิจกรรมให้ตอบสนองต่อพัฒนาการได้


(♥)────การเรียนรู้คือการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเพื่อการอยู่รอด────(♥)

sensory

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ sensory
การใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้าแรกเกิดถึงสองปี
ยังใช้คำไม่เป็นสองปีถึงสี่ปี
ตอบตามที่ตาเห็นสี่ปีถึงหกปี


พัฒนาการทางปัญญา

  • ภาษา
  • ความคิด   1.ความคิดสร้างสรรค์ 
    2.ความคิดเชิงเหตุผล   - คณิตศาสตร์  - วิทยาศาสตร์


การเรียนรู้ของเด็กคือการลงมือกระทำโดยผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้า

  • จากการเล่น 
  • การวางแผนให้จากครู
  • การเกิดโดยไม่ทันตั้งตัว



การจัดประสบการณ์ต้องสอดคล้องกับพัฒนาการและวิธีการเรียนรู้ คือการเล่นนั่นเอง

คำศัพท์ 
  1. วิธีการทางวิทยาศาสตร์               Scientific Method
  2. ความคิดสร้างสรรค์                      Creative Thinking
  3. ประโยชน์                                     benefit
  4. ประสาทสัมผัสทั้ง                        5  Five Senses
  5. การเล่น                                        play


Applications

สามารถนำลำดับขั้นช่วงพัฒนาการไปปรับใช้ในการออกแบบกิจกรรมให้กับเด็กปฐมวัยและสามารถรู้ได้ว่าเด็กนั้นมีพัฒนาการที่สามารถทำอะไรได้บ้าง

Self-assessment
ตั้งใจฟังและวิเคราะห์ตามได้

Atmosphere in the classroom.
เพื่อนๆตั้งใจฟังกันอย่างดี


teacher assessment
อาจารย์สอนละเอียดและให้นักศึกษาสามารถวิเคราะห์ตามได้