Free Lines Arrow

วันเสาร์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 10
วันที่ 11 ตุลาคม 2559 




การเขียนผังกราฟฟิค
การเขียนผังกราฟฟิคเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้คือเป็นเทคโนโลยีเขียนเข้าใจง่ายมีลำดับขั้นตอนมีการวางแผน
บูรณาการวิศวกรรมศาสตร์กับคณิตศาสตร์

ผังกราฟฟิคขั้นตอนทำของเล่น



การจัดประสบการณ์ของเล่นวิทยาศาสตร์

  • เตรียมอุปกรณ์ใช้คำถามประสบการณ์เดิม
  • ใช้สื่อการสอนเช่นวิดีโอ
  • สาธิตให้เด็กดู
  • เด็กลงมือปฏิบัติ
  • เด็กลงมือเล่นและทดลอง
  • แข่งขันจากนั้นก็สรุป


ของเล่นพลังปริศนา

การจัดประสบการณ์
  • ร้องเพลงสงบเด็ก
  • เตรียมอุปกรณ์และถามเด็กว่าวันนี้เราจะมาทำอะไรกันคะ
  • ครูแนะนำอุปกรณ์โดยใช้คำถามว่าเด็กเด็กรู้จักอุปกรณ์ชิ้นใดบ้างและสามารถนำอุปกรณ์เหล่านี้ไปทำอะไรได้อีกบ้างถ้าอุปกรณ์ชิ้นไหนที่เด็กไม่รู้จักให้คุณครูยกอุปกรณ์ชิ้นนั้นคืนและให้เด็กเด็กพูดตามชื่อของอุปกรณ์นั้น
  • ใช้สื่อวิดีโอเปิดให้เด็กดูโดยใช้คำถามชักชวนให้เด็กเด็กตั้งชื่อวีดีโอให้น่าสนใจ
  • ให้เด็กเด็กลงมือประดิษฐ์ตามขั้นตอนในวีดีโอเมื่อทำเสร็จแล้วครูใช้คำถามชวนคิดว่าเราจะทำอย่างไรบ้างให้แผ่นซีดีลอย
  • จากนั้นให้เด็กเด็กทดลองเล่นทำให้เด็กเกิดการสังเกตุเปรียบเทียบจะได้ข้อมูลและทำให้เด็กได้พิจารณาเลือกและตัดสินใจ
  • เมื่อเด็กทดลองเล่นแล้วให้เด็กแข่งขันโดยถ้าขายของได้ระยะทางไกลที่สุดเป็นผู้ชนะโดยใช้เครื่องมือในการวัดคือรูปขนาดหนึ่งคืบจากนั้นบันทึกการแข่งขันลงในผังกราฟฟิคและถามเหตุผลเด็กที่สามารถเป่าได้ไกล
  • สรุปผลการทดลองนี้โดยการที่แผ่นซีดีลอยได้นั้นเกิดจากหลักการวิทยาศาสตร์เรื่องแรงดันอากาศดี

การประยุกต์และการนำไปใช้Knowledge application
ควรให้เด็กมีส่วนร่วมในทุกกิจกรรมและครูควรใช้คำถามกระตุ้นให้เด็กเกิดการสังเกตุ และเปรียบเทียบเพื่อได้ข้อมูลมาพิจารณาในการเลือกและตัดสินใจ

ประเมินอาจารย์ Teacher
อาจารย์ให้ความรู้อย่างละเอียดและสนุกสนาน

ประเมินตนเอง my self
วันนี้สนุกสนานและไดความรู้มาก

ประเมินเพื่อน my friend
เพื่อนๆตั้ตั้งใจเรียนและทำกิจกรรมกันอย่างสนุกสนาน
บันทึกการเรียนครั้งที่ 9
วันที่ 4 ตุลาคม 2559 


บอกเด็กว่าวันนี้มาเรียนหน่วย อาหารดีมีประโยชน์




เพลงมากินข้าวสิ
มากินข้าวสิ มากินข้าวสิ 
กับดีๆ ซ้ำ
มีทั้งแกงและต้มยำ ซ้ำ
อ่ำ อ่ำ

เพลงอาหารดี
อาหารดีนั่นมีประโยชน์
คือผักสดเนื้อหมูปูปลา
เป็ดไก่ไข่นมผลไม้นานา
ล้วนมีคุณค่า ต่อร่างกาย

มือน้อยของฉัน
มือ มือ มือ มือของฉัน
วางมันไว้บนไหล่

แบ่งเป็น4ฐาน


ขั้นแรกสอนขั้นนำก่อน ร้องเพลงหรือคำคล้องจองที่เกี่ยวกับหน่วยที่เราสอน
1.เดี๋ยวคุณครูร้องเพลงให้ฟังนะค่ะ แล้วเด็กๆร้องตามคุณครู
ร้อง 
2.ต่อไปเด็กๆร้องตามคุณครูนะคะ
3.ต่อไปเด็กๆร้องเพลงพร้อมๆกับคุณครูนะคะ
ละก็ใช้คำถามในเพลงนี่มีอาหารดีที่มัประโยชน์อะไรบ้าง นอกจากในเพลงนี้มีอาหารที่มีประโยชน์อะไรบ้าง โดยใช้เทคนิคใครนั่งเรียบร้อยจะให้ออกมาตอบหรือยกมือหรือข้อตกลงต่างๆ

ทาโกยากิไข่ข้าว



ถามว่าเด็กๆรู้ไหมค่ะว่าวันนี้เราจะมาทำอะไรกันเอ่ย 
ถามเด็กเด็กว่าเด็กเด็กรู้มั้ยคะว่าอุปกรณ์มีอะไรบ้างในการทำทาโกะยากิไข่ข้าวมาจากนั้นเราก็อธิบายส่วนประกอบ ปูอัด ไข่ จ้าว แครอท หอมหัวใหญ่ มะเขือเทศ มายองเนส เครื่องปรุง มาการีนหรือเนยและน้ำมัน


การใช้ภาพแทนตัวอักษรจะทำให้เด็กเข้าใจง่ายเพราะเด็กเรียนรู้จากรูปธรรม

อันไหนเด็กไม่รู้จักยกอันนั้นแล้วพูดให้เด็กพูดตามเลยเช่นมาการีน  

จากนั้นก็สาธิตให้เด็กดูและขอตัวแทนมาหั่นผัก


ให้นับตอนใส่ส่วนผสมไปด้วยเช่น ใส่มะเขือเทศ2ช้อนให้เด็กๆนับตาม 1ช้อน 2 ช้อน และห้ามใส่ผงชูรส






ฐานที่ 1

วาดส่วนประกอบต่างๆ



วาดส่วนประกอบต่างๆ


 ฐาน2

-สอนจับมีด หั่นช้าๆ
-มีวิธีตอบเด็กและสิ่งสำคัญคือต้องเก็บเด็กให้อยู่ เพลงเด็กชอบ เพลงสั้นๆไม่ต้องยาวเด็กจะจำได้ 




 ฐาน 3
- ตักเครื่องบูรณาการคณิตศาสตร์โดยการตวงเป็นช้อนช้อนชาช้อนโต๊ะต่างๆ






- บูรณาการด้านวิทยาศาสตร์ การเปรี่ยนแปลงของอาหาร การตั้งสมมุติฐาน




กิจกรรมทุกกิจกรรมต้องให้เด็กมีส่วนร่วม 

สรุป
ถามเด็กๆ เช่น มีอุปกรณ์อะไรบ้าง 
และทวนเพลง


การประยุกต์และการนำไปใช้Knowledge application

กิจกรรมนี้ควรให้เด็กได้ลงมือทำในทุกๆส่วน

ประเมินอาจารย์ Teacher
พี่ปี 5ให้ความรู้ดีมาก

ประเมินตนเอง my self
วันนี้สนุกสนานและได้รับประทานทาโกยากิข้าวอย่างอร่อย

ประเมินเพื่อน my friend
เพื่อนๆตั้งใจทำอาหารกันอย่างสนึกสนาน
บันทึกการเรียนครั้งที่ 7
วันที่ 20 กันยายน 2559 

คัดลายมือ

ภาพ 3 มิติ จากมือและใช้ปากกาสีอื่นขีดเส้นโค้งตรงรูปมือและทำซ้ำอีกครั้งโดยเปลี่ยนสีปากกา
ก็จะได้รูปมือที่ดูเป็น 3 มิติ


ภาพติดตา





ภาพเปิดปิด

การเห็นภาพติดตา (Persistence of vision)
การเห็นภาพติดตา หมายถึง ความรู้สึกในการเห็นภาพค้างอยู่ในสมองได้ชั่วขณะทั้งๆ ที่ไม่มีภาพของวัตถุนั้นอยู่บนจอภาพแล้ว
ระยะเวลาในการเห็นภาพติดตา คนปกติมีระยะเวลาในการเห็นภาพติดตาประมาณ 1/15-1/10 วินาที

ประโยชน์ของการเห็นภาพติดตา

ใช้ในการถ่ายภาพยนตร์ ซึ่งปกติจะถ่ายภาพยนตร์ 24 ภาพต่อวินาที หรือใช้เวลา 1/24 วินาทีในการเห็นภาพ 1 ภาพ การเห็นภาพยนตร์เป็นเคลื่อนไหว เนื่องจากนัยน์ตาของคนเรานั้นเมื่อเห็นภาพแรกแล้วภาพแรกจะยังติดตาอยู่ต่อไปอีก 1/15-1/10 วินาที เมื่อภาพแรกยังไม่ทันเลือนหายก็จะเห็นภาพต่อไปเช่นนี้เรื่อยๆ จึงเห็นภาพเป็นภาพเคลื่อนไหวติดต่อกันไป


และมีการนำเสนอของเล่นวิทยาศาสตร์ 


โดยมีหลังการดังนี้
  1. หลักการแรงหนีศูนย์กลาง  เช่น ลูกข่าง
  2. หลักการแรงดันอากาศ เช่น  หลอดเลี้ยงลูกบอล
  3. หลักการแรงพยุง เช่น ร่มชูชีพ
  4. หลักการความสมดุล เช่น ตุ๊กตาล้มลุก
  5. หลักการแรงสะสม เช่น รถกระป๋อง
  6. หลักการแรงเหวี่ยง momenttum  เช่นกรวยเหวี่ยง
  7. หลักการเรื่องการเกิดเสียง เช่นกลอง
  8. หลักการความหนาแน่น ทะเลจำลอง



การทดลอง water quality

โดยการเทน้ำใส่สายยางและยกสายยางข้างใดข้างหนึ่งขึ้นจะทำให้พบว่าระดับน้ำระหว่างสายยาง 2 ข้างนั้นเท่ากัน

การไหลของน้ำ น้ำพุจำลอง

จึงทำให้เราพบว่า น้ำมีคุณสมบัติเป็นของเหลว ไหลจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ รักษาระดับในตัวเองและหาที่อยู่ตามรูปทรงนั้นๆ 



กิจกรรมดอกไม้บาน

โดยการพับกระดาษเป็น 4 ส่วน
และวาดรูปดอกไม้ลงไปจากนำใช้กรรไกรตัดและนำปากกาเมจิกมาระบายเป็นเกศรดอกไม้และพับดอกไม้ทับๆกันจากนั้นนำไปลอยในน้ำ

จะเห็นได้ว่าดอกไม้ที่พับไว้นั้นเมื่อนำไปลอยในน้ำจะค่อยๆบานออกเพราะโมเลกุลของกระดาษ molecular  มีช่องว่างทำฝห้น้ำสามารถซึมเข้าไปได้จึงทำให้กระดาษค่อยๆบานออกแต่ถ้าไว้นานๆกระดาษก็ะจม








เราสามารถพบได้ในชีวิตประจำวันเช่น
  • เส้นก๋วยเตี๋ยว
  • เห็ดหูหนูขาว
  • กระดาษทิชชู


การประยุกต์และการนำไปใช้Knowledge application

โดยการเลือกกิจกรรมใหเด็กนั้นต้องคำนึงถึงความหลากหลายบูรณาการได้ในหลายๆวิชา เป็นกิจกรรมที่น่าสนใจและใช้ได้ในชีวิตประจำวัน


ประเมินอาจารย์ Teacher
อาจารย์ให้วามรู้ในเรื่องกิจกรรมต่างๆที่อยู่ใกล้ตัวได้สนุกสนานและรับความรู้ได้อย่างเต็มๆ

ประเมินตนเอง my self
วันนี้สนุกสนานและได้รับความรู้อย่างมากจากการทดลองต่างๆ

ประเมินเพื่อน my friend
เพื่อนๆตั้ตั้งใจเรียนและทำกิจกรรมกันอย่างสนุกสนาน


บันทึกการเรียนครั้งที่ 6
วันที่ 13 กันยายน 2559 

ความรู้ที่ได้รับ


คัดไทยอักษรหัวกลมตัวเหลี่ยม


การประดิษฐ์ของเล่นวิทยาศาสตร์โดยบูรณาการ STEM

และเมื่อได้ลงมือปฎิบัติกิจกรรมที่หลากหลายจะทำให้เกิดทักษะการคิด เป็นลำดับดังนี้
ความคิดริเริ่ม >> ความคิดคล่องแคล่ว >> ความคิดยืดหยุ่น >> ความคิดละเอียดลออ >> ความคิดสร้างสรรค์ 


กรอบมารฐานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ปฐมวัย

และรับชมวีดีทัศน์เรื่อง ความลับของแสง


ความรู้ที่ได้รับคือ
แสงเป็นคลื่นชนิดหนึ่งเดินทางเป็นเส้นตรงไม่เปลี่ยนเส้นทาง
การมองเห็น = แสงกระทบกับวัตถุสะท้อนเข้าตา ทำให้เรามองเห็นวัตถุ
วัตถุมี 3 ชนิด คือ
วัตถุโปร่งแสงคือแสงสามารถผ่านวัตถุได้บางส่วน
วัตถุโปร่งใสคือแสงสามารถผ่านวัตถุได้ทั้งหมด
 วัตถุทึบแสงคือแสงไม่สามารถผ่านวัตถุได้เลย

ภาพติดตา


 กระสะท้อนแสง

การประยุกต์และการนำไปใช้

ได้รู้ถึงเรื่องแสงเป็นเรื่องใกล้ตัวที่เราควรรู้และหลักการทำสื่อต่างๆโดยการทดลองจากเรื่องแสง


ประเมินอาจารย์
วันนี้ได้ดูวีดีโอที่อาจารย์นำมาให้ดูมีความรู้อย่างมากและของเล่นสือต่างๆก็ทำให้มีความรู้และสามารถทำได้ง่ายๆอีกด้วย

ประเมินตนเอง
วันนี้สนุกสนานและได้รับความรู้ตากวีดีโออยางมาก

ประเมินเพื่อน
เพื่อนๆตั้งใจดูวีดีโอและสนใจในสื่อที่อาจารย์นำมา