Free Lines Arrow

วันเสาร์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 13
วันที่ 1 พฤศจิกายน 2559


เนื้อหาที่เรียน
นำเสนอวีดีโอสื่อการสอนของเล่นวิทยาศาสตร์


ของเล่น พลังปริศนา



และผลงานของเพื่อนกลุ่มอื่น


รถหลอดด้าย   



ขวดบ้าพลัง



ลูกข่างนักสืบ



หลักการทำสื่อวิดีโอ

  • การแนะนำอุปกรณ์ควรมีตัวหนังสือบอกจำนวนอุปกรณ์เช่นสายยางหนึ่งเส้นเป็นการบูรณาการวิชาคณิตศาสตร์และต้องมีตัวหนังสือเขียนอธิบายทุกขั้นตอนตัวหนังสือนั้นควรเป็นตัวอักษรที่เป็นทางการและเมื่อจบการประดิษฐ์ควรมีผังกราฟฟิคของขั้นตอนการทำเพื่อเป็นการทบทวนขั้นตอนการประดิษฐ์ในวิดีโอนั้นไม่ควรบอกวิธีการเล่นแต่คนนำมาเชื่อมโยงในห้องเรียนให้เด็กได้คิดและสังเกตหาวิธีการเล่นเอง



ต่อมาเป็นการบูรณาการการเรียนการสอนในหน่วยไก่

คณิตศาสตร์ ประกอบไปด้วย6 มาตรฐาน ดังนี้
    • สาระที่หนึ่ง               จำนวนและการดำเนินการ
    • สาระที่สอง               การวัด
    • สาระที่สาม               เรขาคณิต
    • สาระที่สี่                   พีชคณิต
    • สาระที่ห้า                 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
    • สาระที่หก                ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์

วิทยาศาสตร์
ทักษะทางวิทยาศาสตร์ประกอบด้วย 13 ทักษะ 
    • ทักษะที่ 1 ทักษะการสังเกต (Observation) 
    • ทักษะที่ 2 ทักษะการวัด (Measurement) 
    • ทักษะที่ 3 ทักษะการจำแนกประเภท (Classification) 
    • ทักษะที่ 4 การหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปสและสเปสกับเวลา (Spacs / Spacs Reation and Space /Time Relation) 
    • ทักษะที่ 5 การคำนวน (Using Number) 
    • ทักษะที่ 6 การจัดทำและสื่อความหมายข้อมูล (Organizing Data and Communication) 
    • ทักษะที่ 7 การลงความคิดเห็นจากข้อมูล (Inferring) 
    • ทักษะที่ 8 การพยากรณ์ (Prediction) 
    • ทักษะที่ 9 การตั้งสมมติฐาน (Formulating Hypothesis) 
    • ทักษะที่ 10 การกำหนดนิยามเชิงปฏิบัติการ (Defining Operation) 
    • ทักษะที่ 11 การกำหนดและควบคุมตัวแปร (Identifying and Controlling Variables) 
    • ทักษะที่ 12 การทดลอง (Experiment) 
    • ทักษะที่ 13 การตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป (Interperting Data and Making) 

กรอบมาตรฐานวิทยาศาสตร์ปฐมวัย  8สาระ
    • สาระที่ 1 สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต สาระเกี่ยวกับพืช  ได้แก่  พืช  เรื่องที่นำมาเรียนได้แก่  ต้นไม้  ดอกไม้  ผลไม้  การปลูกพืช  การใช้ประโยชน์จากพืช
    • สาระที่ 2 ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม สาระเกี่ยวกับสัตว์  ได้แก่  ประเภทของสัตว์  สวนสัตว์  การเลี้ยงสัตว์
    • สาระที่ 3 สารและสมบัติของสาร สาระเกี่ยวกับฟิสิกส์  เช่น  การจม  การลอย  ความร้อน  ความเย็น
    • สาระที่ 4 แรงและการเคลื่อนที่ 
    • สาระที่ 5 พลังงาน 
    • สาระที่ 6 กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก
    • สาระที่ 7ดาราศาสตร์และอวกาศ   ได้แก่  ดวงอาทิตย์  ดวงจันทร์  ดาว  ฤดูกาล
    •  สาระที่ 8 ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

กระบวนการทางวิทยาศาสตร์

    • ขั้นที่หนึ่งกำหนดขอบข่ายของปัญหา
    • ขั้นที่สองตั้งสมมติฐาน
    • ขั้นที่สามทดลองและเก็บข้อมูล
    • ขั้นที่สี่วิเคราะห์ข้อมูลขั้นที่ห้าสรุปผลคำตอบสมมุติฐาน
ศิลปะวาด
    • ภาพระบายสี
    • การปั้น
    • การฉีกตัดแปะ
    • การประดิษฐ์
    • การพิมพ์ภาพ
    • การเล่นกับสี

สังคม
    • การอยู่ร่วมกับผู้อื่นแบ่งออกเป็นงานกลุ่มและงานคู่
    • การช่วยเหลือตนเองแบ่งออกเป็นงานเดียว

การบูรณาการผ่าน 6 กิจกรรมหลักโดยใช้ผังความคิด

กิจกรรมหลัก 6 กิจกรรมของเด็กปฐมวัยมีดังนี้
1. กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
2. กิจกรรมสร้างสรรค์ 
3. กิจกรรมเสรี 
4. กิจกรรมเสริมประสบการณ์
5. กิจกรรมกลางแจ้ง 
6. กิจกรรมเกมการศึกษา


การประยุกต์และการนำไปใช้Knowledge application
การจัดกิจกรรมนั้นควรสอดคล้องกับสาระการเรียนรู้ของกลุ่มวิชาต่างๆที่บูรณาการ

ประเมินอาจารย์ Teacher
อาจารย์ให้ความรู้และกระตุ้นให้นักศึกษาได้ใช้ความคิดเสมอ

ประเมินตนเอง my self
วันนี้สนุกสนานและไดความรู้มาก

ประเมินเพื่อน my friend
เพื่อนๆช่วยกันทำงานกลุ่มเป็นอย่างดี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น